อำนาจหน้าที่
ภารกิจอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่
การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตําบ้านใหม่ เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการคิดร่วม แก้ไขปัญหาร่วมสร้าง ร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นในทุก ๆ ด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ จะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้อง อาศัยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของ ประชากร นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่ จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพโดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนการพัฒนาอาชีพนั้นจะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น ตามแนวพระราชดําริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ตามพระราชบัญญัติสภา ตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ (ที่แก้ไขเพิ่มเติม) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และรวบรวมกฎหมายอื่นของ อบต. ใช้เทคนิค Swat เข้ามาช่วย ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหา ในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคราม ในการ ดำเนินการตามภารกิจตามหลัก Swot องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับปัญหา โดยสามารถกำหนด ภารกิจกิจได้ ๗ ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ (ที่แก้ไขเพิ่มเติม) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ (ที่แก้ไขเพิ่มเติม)
๕.๑ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
๑. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
๒. การจัดให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ หรือท่าข้าม
๓. การรักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งการกําจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล
๔. การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือน้ำประปา
๕. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
๖. การจัดให้มีและบํารุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
๗. การสาธารณูปการ
๘. การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้างอาคาร
๕.๒ ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. การจัดการศึกษา
๒. การส่งเสริมกีฬา
๓. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
๔. การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
๕. การส่งเสริมและการฝึกอาชีพ
๖. การจัดตั้งและบํารุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
๗. การป้องกันและระงับโรคติดต่อ
๘. การส่งเสริมสุขภาพและอนามัย
๙. การจัดสร้างลานกีฬาและสวนสาธารณะในชุมชนพร้อมทั้งบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี
๑๐. การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
๑๑. การบํารุงสวนสาธารณะ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
๑๒. การจัดให้มีสุสาน และฌาปนสถาน
๑๓. การจัดให้มีโรงฆ่าสัตว์
๕.๓ ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. การรักษาความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน
๒. การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๓. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
๔. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๕. ส่งเสริมการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ครอบครัวอบอุ่น มีความเอื้ออาทรในชุมชน
๖. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๗. การควบคุมตลาด และที่จอดรถ
๘. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของประชาชน
๙. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
๕.๔ ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชย์กรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. บํารุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
๒. การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลและประสานการจัดทำแผนพัฒนาตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด
๓. เทศพาณิชย์
๔. การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจกรรมไม่ว่าจะดำเนินการเอง หรือร่วมกับ บุคคลอื่น หรือจากสหการ
๕. การดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
๖. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานและประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักของประชาชน
๗. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
๘. การส่งเสริมการลงทุน
๙. การพัฒนาและส่งเสริมด้านเทคโนโลยี
๑๐. ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
๑๑. จัดให้มีศูนย์พัฒนาและฝึกอาชีพสำหรับชุมชน
๕.๕ ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
๓. การจัดตั้งและดูแลระบบบําบัดน้ำเสียและระบบกําจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม
๔. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ เช่น การกําจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย
๕. ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่ว่างและบริเวณอื่น ๆ ให้สวยงาม
๖. ประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ
๗. บําบัดและสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นตลอดจนฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายให้กลับคืนหรือทดแทนด้วยทรัพยากรที่มีคุณค่าทัดเทียมกัน
๘. การป้องกันและการบุกรุกที่สาธารณะ
๕.๖ ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๒. สร้างจิตรสํานึกและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชาวบ้าน
๓. การศึกษา การทํานุบํารุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม
๔. จัดระบบเครือข่ายสารสนเทศบริการข้อมูลข่าวสารและแหล่งจําหน่ายสินค้าพื้นเมือง หัตถกรรมพื้นบ้าน
๕. ส่งเสริมให้สถานศึกษาและสถาบันทางศาสนาเป็นหลักในการสอนศีลธรรมเพื่อปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรม วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
๖. จัดให้มีแหล่งข้อมูลเพื่อการค้นคว้า ศึกษา และเรียนรู้ด้วยตนเองในชุมชน
๗. ส่งเสริมให้มีการศึกษา ศิลปะพื้นบ้าน การละเล่น และขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์ให้คงอยู่และพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของท้องถิ่น
๕.๗ ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. พัฒนาประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งด้านระบบงาน ระบบงบประมาณและบุคลากรตลอดจนการจัดเก็บรายได้ให้มีขีดความสามารถที่จะรองรับภารกิจและการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่น
๒. สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชนในการเข้าร่วมให้ข้อคิดเห็น และกำกับ ดูแล ตรวจสอบการทำงานของเทศบาล
๓. สนับสนุนให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับประชาชนในรูปของประชาคมท้องถิ่น
๔. พัฒนาระบบบริหารงานของหน่วยงานในองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์ของ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี และเป็นระบบที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน และจัดให้มีระบบควบคุม ภายในทั้งด้านระบบงาน ระบบเงิน และผลงาน เพื่อกำกับดูแลให้การทำงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ พร้อม ทั้งจัดให้มีระบบตรวจสอบภายนอกด้วยการนําเสนอผลงานต่อสาธารณชน รวมทั้งพัฒนาระบบการประเมินผลแบบเปิด
๕. พัฒนาประสิทธิภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการให้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการขอรับบริการ และได้มาตรฐาน รวมทั้งไม่เลือกปฏิบัติ
๖. พัฒนางานบริการประชาชน ด้วยการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาบริการให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
๗. พัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในด้านต่าง ๆ เพื่อการวางแผน
๘. การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานอื่น ๆ
๙. สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน
๑๐. ให้บริการแก่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
ภารกิจทั้ง ๑๐ ด้านดังกล่าว ถ้าองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ได้ครบถ้วน จะทำให้สามารถแก้ไข ปัญหาที่มีอยู่และสามารถพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่ ให้เจริญก้าวหน้า เป็นที่พอใจของประชาชนได้ และทำให้เป็นเมืองน่าอยู่โดยจะส่งผลให้ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ มีความปลอดภัย มีความสุข มี อาชีพ มีคุณธรรมและมีส่วนร่วม ในการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ซึ่งส่งผลให้ตำบลมีความ เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ภารกิจหลัก และภารกิจรองที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ มีภารกิจหลัก และภารกิจรองที่ต้องดำเนินการ ดังนี้
ภารกิจหลัก
๑. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
๒. การส่งเสริมคุณภาพชีวิต
๓. การอนุรักษ์ทรัพย์กรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
๔. ด้านการศึกษา และสาธารณสุข
๕. การจัดระเบียบชุมชน และการรักษาความสงบเรียบร้อย
๖. การพัฒนาเมืองและการบริหารงบประมาณ
ภารกิจรอง
๑. การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น
๒. การสนับสนุน และส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือน และการท่องเที่ยว
๓. การส่งเสริมการเกษตร